Last updated: 24 May 2021 | 22123 Views |
โอเวอร์โหลดรีเลย์ (Overload relay) คืออะไร
เป็นอุปกรณ์ป้องกันอุปกรณ์ไฟฟ้า เกินกำลังหรือป้องกันมอเตอร์ ไม่ให้เกิดการเสียหาย เมื่อมีกระแสไหลเกินพิกัด โดยมีส่วนประกอบภายนอกที่สำคัญ ของ
โอเวอร์โหลดรีเลย์ ดังนี้
1. ปุ่มปรับกระแส (RC. A)
2. ปุ่มเทส (TEST)
3. ปุ่มรีเซ็ต (RESET)
4. จุดต่อไฟเข้าเมนไบเมทอล (Main Terminal)
5. จุดต่อไฟออกจากเมนไบเมทอล (Main Terminal)
6. หน้าสัมผัสช่วย (Auxiliary Contact)
7. ฝาปิดผนึก (Protection Cover)
หลักการทำงาน
โอเวอร์โหลด มีขดลวดความร้อน (Heater) พันกับแผ่นไบเมทัล (Bimetal)(แผ่นโลหะผลิตจากโลหะต่างชนิดกัน) เชื่อมติดกัน เมื่อได้รับความร้อนแผ่นโลหะจะโก่งตัว ขดลวดความร้อนซึ่งเป็นทางผ่านของกระแสไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายไฟไปมอเตอร์ เมื่อกระแสไหลเข้าสูงในระดับค่าหนึ่ง ส่งผลให้ความร้อนทำให้แผ่นไบเมทัลร้อน และ โก่งตัว ดันให้หน้าสัมผัสปกติปิด N.C. ของโอเวอร์โหลดที่ต่ออนุกรมอยู่กับแผงควบคุมเปิดวงจร ตัดกระแสไฟฟ้า จากคอยล์แม่เหล็กของคอนแทคเตอร์ ทำให้หน้าสัมผัสหลัก (Main Contact) ของคอนแทคเตอร์ ปลดมอเตอร์ออกจากแหล่งจ่ายไฟ ป้องกันมอเตอร์ความเสียหาย จากไฟเกินได้
ชนิดของ Overload Relay
1.โอเวอร์โหลดรีเลย์แบบธรรมดา คือ เมื่อแผ่นไบเมทัลงอไปแล้วจะกลับมาอยู่ตำแหน่งเดิม เมื่อเย็นตัวลงเหมือนในเตารีด
2.โอเวอร์โหลดรีเลย์แบบที่มีรีเซ็ต (Reset) คือ เมื่อตัดวงจรไปแล้ว หน้าสัมผัสจะถูกล็อกเอาไว้ ถ้าต้องการจะให้วงจรทำงานอีกครั้ง ทำได้โดยกดที่ปุ่ม Reset ให้หน้าสัมผัสกลับมาต่อวงจรเหมือนเดิม
การเลือกใช้งานโอเวอร์โหลดรีเลย์
สิ่งที่เราควรรู้ในการเลือกใช้งานโอเวอร์โหลดรีเลย์นั้น มีดังนี้.
1.การใช้งานมอเตอร์
การใช้งานมอเตอร์นั้น จะมีขั้นการใช้งานมอเตอร์ ซึ่งแบ่งตามช่วงเวลาการเริ่มเดินของมอเตอร์ ตามมาตรฐาน IEC มีการแบ่งชั้น (Class) ของโอเวอร์โหลดรีเลย์ชนิดความร้อน เป็นชั้นต่าง ๆ เพื่อให้เหมาะสมกับวิธีการเริ่มเดินมอเตอร์และโหลดที่ใช้งาน ควรเลือกใช้งานชั้นที่ต่ำที่สุดก่อน คือ Class 10 เพื่อที่จะป้องกันไม่ให้มอเตอร์เสียหายเร็วที่สุด ดังตารางที่ 1
2.ช่วงปรับตั้งกระแสโหลดเกินหรือกระแสโอเวอร์โหลด
ช่วงปรับตั้งกระแสโหลดเกินหรือกระแสโอเวอร์โหลด โอเวอร์โหลดรีเลย์ (Overload Relay) ที่ใช้กันอยู่ทั่วไป เป็นชนิดติดตั้งแยกจากตัวมอเตอร์ จะต่ออนุกรมอยู่ในวงจรมอเตอร์หรือผ่านหม้อแปลงกระแสกรณีที่เป็นมอเตอร์ขนาดใหญ่ การปรับตั้งกระแสโอเวอร์โหลดรีเลย์จะปรับตามประเภทมอเตอร์ซึ่งระบุรายละเอียดบนแผ่นป้ายประจำเครื่อง (Name Plate) ดังตารางที่ 2
3. การรีเซ็ตหลังจากปลดวงจร
การรีเซ็ตหลังจากปลดวงจร ปัจจุบันมีให้เลือกใช้ทั้งรีเซ็ตด้วยมือ (Manual Resetting) และแบบอัตโนมัติ (Automatic Resetting) หรือบางรุ่นสามารถเป็นได้ทั้งสองแบบแล้วแต่การปรับตั้ง ข้อดีของการรีเซ็ตด้วยมือคือ หากมีการปลดวงจรด้วยโอเวอร์โหลดรีเลย์ มอเตอร์จะไม่สามารถกลับมาทำงานได้โดยอัตโนมัติ จะต้องมีเจ้าหน้าที่ไปสำรวจความผิดปกติของการปลดวงจรก่อน หลังจากนั้นจะมากดที่ปุ่มรีเซ็ตที่ตัวโอเวอร์โหลดรีเลย์ ก่อนการเริ่มเดินมอเตอร์อีกครั้ง ข้อเสียคือต้องกดปุ่มรีเซ็ตก่อนเริ่มเดินมอเตอร์ใหม่อีกครั้ง
4.การติดตั้ง
การติดตั้งต่อเนื่องจากหน้าสัมผัสแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Contactor) จะติดตั้งโอเวอร์โหลดรีเลย์แต่ละรุ่นตามช่วงกระแสที่ปรับตั้ง ซึ่งจะสอดคล้องกับการทนกระแสของหน้าสัมผัสแม่เหล็กไฟฟ้า หรือแมกเนติกคอนแทคเตอร์ เพื่อให้สามารถติดตั้งได้สะดวกโดยการต่อเชื่อมกับคอนแทคเตอร์ได้โดยที่ไม่ต้องเดินสายไฟ
ทำไมต้องเลือกใช้ โอเวอร์โหลดรีเลย์ “Hyundai Brand”
ได้มาตราฐานทั้งบนบกและในทะเลทั้งยุโรปและอเมริกา
Standard: IEC 60947,EN 60947,UL 508,BS 47794, BS 5424, BS 4941
VDE 0660,DNV,KS C4504,JISC 8328, JEM 1038
Approval: ISO 18001,14001,9001,UL / C-UL
CE : Community European : TÜV Rheinlend,GOST-R,CCC
Shipping Approval : LR, BV, ABS, GL, NK, KR
Rated Voltage : Up to 1,000 V , Rated Current : Up to 800 A